Friday, February 12, 2016

[Review] รีวิวรองเท้าวิ่ง Adidas Prime Boost LTD


ไม่ได้เขียนรีวิวรองเท้าวิ่งนานแล้ว เพราะขี้เกียจบวกกับไม่ค่อยได้ซื้อรองเท้าวิ่งใหม่ค่ะ เพราะฉันเป็นคนประหยัด (แกซื้อใหม่มาสามคู่จากรีวิวสุดท้าย) แต่ก็เล็งเห็นว่ารีวิวรองเท้าวิ่งน่าจเป็นประโยชน์กับหลายคน โดยเฉพาะคนที่กำลังตัดสินใจซื้อรองเท้าวิ่งดีๆสักกคู่แต่มีไอเดียเป็นศูนย์เลยว่า จะซื้ออะไรดี ไอนั่นคนก็บอกว่าดี ไอที่เราชอบบางทีทำไมใครๆก็ไม่เชียร์

ปกติจะแชร์ประสบการณ์กับรองเท้าวิ่งผู้หญิง วันนี้ได้รับเกีรติจากหนุ่มๆมาช่วยเป็นแขกรับเชิญเพราะยังไงบิ๋มก็คงไม่มีวันได้ลองรองเท้าผู้ชายแล้วมาเม้าท์เป็นแน่แท้  อย่าเรียกรีวิวเลยดีกว่า เรียกว่ามาบอกเล่าว่าไอรองเท้ารุ่นนี้มันเป็นยังไง ที่จะมาชร์กันในรีวิวนี้ เป็นผลการทดลองใส่ ลองวิ่ง และความเห็นของหนุ่มหล่อ พี่หนึ่ง นักวิ่งที่ชอบช้อปรองเท้าวิ่งเป็นชีวิตจิตใจ จนเราทนไม่ได้ใน passion ของเค้าต้องไปรบกวนให้มาแบ่งปันความรู้สึกกับรองเท้าวิ่งที่เค้าได้ลองมา

ขอเปิดรีวิวแรกจากพี่หนึ่งด้วยรองเท้ารุ่นที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก อย่าง Adidas Prime Boost LTD เลยละกัน มันจะเป็นยังไง เด็ดคุ้มค่าคำเคลมหรือไม่ เชิญติดตามค่ะ


มันคือรุ่นในหนัง Avenges นั่นเอง
(ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต)

ทั้งนี้ ด้วยความที่บางคนอาจจะเวลาน้อย อยากได้เนื้อๆ เน้นๆ สั้นๆ เรพาะไม่อยากอ่านตัวหนังสือหลายบรรทัด แนะนำว่า อ่านแค่แบบสั้นพอ สำหรับใครที่ต้องการข้อมูลแน่นๆ เชิญอ่านไปเรื่องๆได้เลย




[รีวิว เวอร์ชั่นสั้น]

ยี่ห้อ: Adidas
รุ่น: Prime Boost LTD
สี: Silver
สภาพทดสอบ:
- พื้นผิวพื้นถนน
- อากาศ ชื้น ไม่มีฝน 28 องศาC
- งาน BITEC 2016
- tempo (เพส 4:30-5:30) ระยะ 5 กม
- easy (เพส 7:30-8:30) ระยะ 5 กม

หมายเหตุ: รองเท้า ซื้อเอง & ไม่ใช่ sample ที่ Adidas ให้มาเพื่อรีวิว

--------





สั้นๆเลยนะ เจ๋ง !!!

สมที่เอา 3 เทคโนโลยีที่ดีที่สุดของ Adidas มารวมกัน ใน racing ตัวนี้

ลองคิดตามอย่างนี้

1) สร้างมาจาก โครงของ ตระกูล Adios ที่ขึ้นชื่อเรื่อง เบาและเร็ว สถิติโลก 4 หนเป็นประกัน

2) เปลี่ยนเอาโฟม EVA ที่พื้นออก ใส่ Boost เข้าไป เด้งกระจายซิ

3) ผ้ายังกระด้างๆเหรอ เปลี่ยนเป็นผ้าถัก Prime Knit เลย ละมุนไปทั่ว แถมยังกระชับ

เป็นส่วนผสม ที่ลงตัว เบา ใส่สบาย

วิ่ง เนิบๆ ก็ได้ เร่ง ก็มา เร่งขึ้น เด้งดี สำหรับรองเท้าแบบ racing และ ที่สำคัญ เท่ห์มาก !!

นี่ คิดเอาเอง จากการที่เดินเล่น ใส่ทำงาน ใส่แล้วคนทัก โดยเฉพาะ ตามช้อป อาดิดาส ทักทุกร้าน

แล้วสิ่งที่ไม่ชอบล่ะ?

มีซิ แต่พอจะมองข้ามได้ถ้าเทียบกับ ข้อดี ไว้เล่าให้ฟังใน รีวิวฉบับเต็มละกัน (อ่ะ..มีกั๊ก)

--------

[รีวิว เวอร์ชั่นเต็ม]




glow in the dark

ข้อมูลเบื้องต้นของรองเท้ารุ่นนี้

เป็นตัวท็อปของรองเท้าวิ่ง Adidas (ใช่ครับ ท็อปกว่า Ultra Boost - จริงๆก็ อยู่คนละกลุ่มรองเท้าวิ่ง อันนึง comfort trainer อีกอัน racer แต่คนชอบถาม เลยเปรียบเทียบให้ดู)





เอาเทคโนโลยีที่ดีที่สุด 3 ส่วน ของ Adidas มารวมกัน

1) Adios เป็นตระกูล racing ของ Adidas
-  ดังมาจาก  Haile Gebrselassie ใช้รุ่น original สร้างสถิติโลก มาราธอนที่เร็วที่สุด
- รวมแล้ว สถิติมาราธอนที่เร็วที่สุดในโลก จาก ตระกูล Adios มาแล้ว 4 ครั้ง
- สถิติปัจจุบัน ก็เป็น รุ่น Adios Boost 2 โดย Dennis Kemetto ที่เวลา 2:02:57

2) Boost เป็น เม็ดพลาสติก เยอะๆ อัดแน่นๆ (คิดค้นโดย BASF) Adidas เอามาแทน โฟม EVA (ที่รองเท้าวิ่ง ส่วนใหญ่ใช้กัน) โดยให้ความเด้งที่มากกว่า

3) Prime Knit การทำผ้า upper ด้วยการถัก
ได้ ความยืดหยุ่น นุ่มสบาย


หมายเหตุ :
- ทั้ง Boost & Prime Knit เป็นชื่อเทคโนโลยี
- แต่ละรุ่น ก็ใช้ เทคโนโลนีพวกนี้ แตกต่างกันไป
- เช่น ความหนา/นิ่ม/เด้ง Boost แต่ละรุ่นก็ไม่จำเป็นต้องเท่ากั
- หรือ Prime Knit ของแต่ละรุ่น ก็ไม่จำเป็นต้องถักมาจากผ้าเดียวกัน/ความหนาเท่ากัน/ความรู้สึกตอนใส่เหมือนกัน

- - - - 

เปรียบเทียบ Prime Boost vs Ultra Boost

Adidas Ultra Boost

เทียบกันแบบ รองเท้าวิ่ง

1) หึ่ย จะเทียบกันจริงๆ เหรอ
- Ultra Boost นี่ มัน เป็น trainer ไว้ซ้อมวิ่ง ส่วน อยากใช้วิ่งแข่ง ก็แล้วแต่
- Prime Boost เป็น racer ไว้ใส่วันแข่ง ส่วน อยากใช้ซ้อมด้วย ก็แล้วแต่

2) Ultra Boost หนักว่าเยอะ
- วิ่งตอนขาล้า รองเท้าหนัก มีผลเยอะ
- Ultra Boost 320 กรัม/ข้าง
- Prime Boost 220 กรัม/ข้าง
- ทุกก้าว คุณต้อง ยกน้ำหนัก เพิ่ม 100 กรัม ฟังดูนิดเดียว ลองดูจิ ราว กม 30+ (เอา ผมที่ซ้อม น้อย เป็นตัวอย่าง) รู้เลย

3) พื้น Boost ของ Ultra Boost ส้นสูง + ทรงของพื้น --> ยืนแล้วหน้าจะทิ่ม & ท่าวิ่งจะดีไหมนะ

4) Boost ที่เห็นว่า หนาๆ ของ Ultra Boost น่ะ มันอยู่ตรงส้นมัน หน้าเท้า แทบจะเท่ากัน ใครใช้เดิน (ลงส้นอยู่แล้ว) น่าจะดี หรือ คนวิ่งลงส้น คงกระแทก ใส่กันสะใจเลย

5) ความ stable ของUltra Boost น้อยกว่า
- ผ้า PrimeKnit ของ Ultra Boost สบาย แต่ไม่กระชับ
- นึกภาพ เท้าเทไปซ้ายที ขวาที ในรองเท้า ระหว่างวิ่ง Ultra Boost เป็นแนวนั้นเลย
- กรงพลาสติก three strips ของ Ultra Boost ไม่กระชับอุ้งเท้า + แข็งกระด้าง (รู้สึกได้ ตอนวิ่ง)
- ส้น ของ Ultra Boost ลื้นหลุดง่าย
- Ultra Boost ไม่มีรูร้อยเชือกสำหรับทำให้ส้นกระชับ (runner's loops)
- ที่รั้งส้นรูปผีเสื้อ (โฆษณาเรียกว่างั้น) ของ Ultra Boost ไม่กระชับ แถมกระด้าง

6) Prime Boost มี Torsion (โครงพลาสติก ใต้ boost) เสริมให้ boost มี โครง ส่งแรง ดีดกลับ ได้ดี
- Ultra Boost มี แต่ ไม่รู้สึก snappy (ดีดกลับ)เท่า

7) ราคา 6,900 ของ Ultra Boost (2015) ได้มากับพื้น ที่"ห้าม"เดินผ่านพื้นเปียก (ลื่น หัวปัก ได้เลย)
- Ultra Boost รุ่น 2016 เปลี่ยนพื้น outsole แล้ว

8) Prime Boost เอาแบบมาจาก Adios Boost แล้ว เปลี่ยน ผ้าเป็นPrimeKnit
- Adios Boost เป็นรองเท้า ที่ใช้ ทำสถิติโลก มาราธอนปัจจุบัน

9) PrimeKnit ที่ใช้ใน Prime Boost บางกว่า + ยืดหยุ่น (ในจุดที่จำเป็น) กว่า + ระบายอากาศ ได้ดี
- Ultra Boost จะเป็น แบบ เสื้อกันหนาวไหมพรม มีรู ไม่ยืดหยุ่นมาก

10) อย่าเชื่อผม คนวิ่ง ระยะฟูล Ultra Boost เยอะแยะ เวลาดี มีความสุข ไปลองเอาเอง คุณแหละ ตอบตัวเองดีที่สุด

เอาไงดี เทียบแค่กับ Ados Boost พอไหม ครับ

- - - - 

เปรียบเทียบ Prime Boost vs Japan Boost


Adidas ที่มีในครอบครอง
(จากซ้ายไปขวา: Prime Boost, Japan Boost, Adios Boost)


ข้อมูลเบื้องต้น
Japan Boost 3 WD ไซส์ 9.0 US 
Prime Boost (2016) ไซส์ 9.0 US

น้ำหนัก
- แทบจะเท่ากัน +/- 10 กรัม

Outsole
- หน้าตา เหมือนกัน
- ความรู้สึกเหมือนกัน

Midsole
- หน้าตา เหมือนกัน
- ความรู้สึกเหมือนกัน

Upper
- จุดต่างหลักเลย
- JPB3 ใช้ ผ้าตาข่าย ที่บางลงจาก JPB2 จน คล้ายจะเสียทรง ตรงหน้าเท้า (vamp)  ที่จะดูยับๆตลอด & ระคายเคืองลดลง จากJPB2 แต่ยังกระด้างชนิดที่ คนที่ชอบวิ่งไม่ใส่ถุงเท้า ร้องแน่ โดยเฉพาะ ตรงลิ้น
- PB 2016 ใช้ PrimeKnit นุ่มเนียน
- PrimeKnit ที่ PB ใช้ บาง ยืดหยุ่น  และระบายอากาศ (เทียบกับ Ultra Boost)
- ลิ้น PB ก็ยังเป็น PrimeKnit
- tongue slide แทบไม่เจอ
- เชือก คล้ายกัน
- ทั้งคู่มี runners' loops

หน้าเท้า
- JPB3 กว้างกว่าเล็กน้อย เพราะเป็นรุ่นWD (หน้ากว้าง)
- PB ไม่ได้แคบ แค่ไม่กว้าง (เท่าๆกับ JPB รุ่นกว้างมาตรฐาน) ผมเท้า 2E พอใส่ได้ ใครกว้างกว่านี้ ไม่แนะนำละ

กลางเท้า
- JPB 3 = snug fit แนว racing flat ที่เจอ (ตามคาด)
- PB 2016 อธิบาย ยาก ใช้ PrimeKnit ถักถี่ๆเป็นรูป 3 stripes (ในรูปเป็น PB Avengers แต่ก็แบบเดียวกัน) เป็นโครงสร้างแทน --> เออ มันกระชับsnug & สบาย ในเวลาเดียวกัน (เจ๋งมาก ชอบ)

ส้นเท้า
- heel collar ของ PB ใช้ผ้า นุ่มสะมุนกว่า (JPB3 ก็สบาย ไม่ได้หยาบอะไร)
- heel counter นี่ส่วนต่าง หลักอีกอันเลย: ของ JPB 3 แข็ง และ โอบ ส้นเท้า รอบกว่า (ล้ำมาแทบถึงอุ้งเท้าเลย) --> heel lock ดีกว่า
- achilles dip (ตรงที่ส้นของรองเท้า โดน เอ็นร้อยหวาย) เว้ากำลังสวยทั้งคู่
- heel cup ของ JPB3 จะโน้มเข้าหา เอ็นร้อยหวาย มากกว่า
- สังเกตุจากรูป มุมบน (คอมเม้นที่แล้ว) จะเห็นพื้น Boost  สีขาว ตรงส้น ของ JPB3 ขณะที่ PB บัง พื้น Boost มิด
- ส่งผลให้ heel lock ของ JPB 3 กระชับมากกว่า (PB ก็กระชับอยู่)

- - - - 

หลายคนคงอยากรู้ หลังจากอ่านว่ามันดียังไงมาหลายนาที ว่ามาเลยดีว่าว่าเท่าไร่?
"ถ้า" เข้าเมืองไทย น่าจะราว ฿7,500 ตอนนี่เห็นที่อเมริกา $200 เทียบกับ Ultra Boost $180

จบไปแล้วกับรีวิวพร้อมเปรียบเทียบให้พอเข้าใจกันว่าสองรุ่นนี้มันแตกต่างกันยังไง ใครคันไม้คันมือ รอให้มาขายในช้อปไทยไม่ไหว ขอชี้เป้าให้ไปสอยกันเลยนะจ๊ะ เค้ามีใ้ลองให้จับจองเป็นเจ้าของที่ OUT-RUN 

No comments:

Post a Comment